ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคม 2. พัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3. พัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4. สร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา 5. ส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6. พัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคม กลยุทธ์ 1.1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 1.2 การเสริมสร้างความรู้และทักษะความเป็นพลเมืองดี (CIVIC EDUCATION) 1.3 สร้างเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่หลักสูตรกำหนด 1.4 การพัฒนาทักษะชีวิตและการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้เรียนทุกช่วงวัยเพิ่มพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยง เพื่อเพิ่มคนดีในสังคม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กลยุทธ์ 2.1 การพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ (STEM Education) สำหรับผู้เรียนทุกระดับ ทุกประเภท 2.2 ส่งเสริมและพัฒนากำลังคนให้มีคุณลักษณะที่จำเป็นต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ ๒๑ ตรงตามความต้องการกับตลาดงาน 2.3 ส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสารด้านภาษาต่างประเทศทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียนเพื่อประกอบอาชีพการมีงานทำโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา 2.4 ขับเคลื่อนการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้พื้นฐานของการวิจัย 2.5 ปรับทิศทางการผลิตบัณฑิตมุ่งเน้นศักยภาพ คุณภาพมากกว่าปริมาณ 2.6 การสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ในการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อการมีงานทำ 2.7 พัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง และรองรับระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา สถานประกอบการ และภาคีเครือข่ายระดับนานาชาติ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์ 3.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน นักศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทบนพื้นฐานของการวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.2 พัฒนาให้เด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา และทักษะด้านภาษาที่เหมาะสมตามวัย 3.3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารโดยใช้อาศัยกระบวนการเทคโนโลยี และสื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย 3.4 สร้างสังคมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีหลายช่องทาง ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เรียนทุกช่วงวัย 3.5 การพัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และมีวิสัยทัศน์ 3.6 การพัฒนานักเรียนให้มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา กลยุทธ์ 4.1 การบูรณาการทรัพยากรทางการศึกษาระหว่างหน่วยงานการศึกษาเพื่อใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน 4.2 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV และการศึกษาทางไกลDLIT ที่ขาดแคลนครู มีครูสอนไม่ครบชั้น และไม่ครบสาขาวิชาเอก 4.3 สร้างระบบดูแลช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เรียนที่ด้อยโอกาสผู้ยากไร้และผู้พิการ ได้มีโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 4.4 ส่งเสริมการวิจัยเพื่อสร้างรูปแบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนที่สอดคล้องกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ 5.1 ส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 5.2 การส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนตระหนัก มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม 5.3 การน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 5.4 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับผู้เรียนและประชาชนให้มีการอนุรักษ์ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.5 ส่งเสริมให้สถานศึกษาทั้งภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่นเป็นต้นแบบในการบริหาร จัดการขยะ 5.6 สร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้เรียนและประชาชนมีความรักและหวงแหนประเพณี วัฒนธรรม อันดีงานของไทยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสืบต่อไป
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา กลยุทธ์ 6.1 จัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้ครอบคลุมทุกระดับทุกประเภทมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันมีฐานข้อมูลเชื่อมโยงกับหน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 6.2 ส่งเสริมให้หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาทุกแห่งบริหารจัดการในรูปแบบขององค์กร สำนักงานอัตโนมัติ (Automatic Office) 6.3 จัดระบบการสื่อสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กร แบบหลายช่องทางโดยอาศัยระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม 6.4 ส่งเสริมและพัฒนาให้หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษา จัดระบบการบริหารจัดการแก่ผู้รับบริการในรูปแบบให้เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว One Stop Service 6.5 การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพ 6.6 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนประชารัฐ 6.7 บริหารจัดการงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปตามหลัก ธรรมาภิบาลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 6.8 นิเทศ ติดตาม กำกับ สนับสนุน ส่งเสริมประเมินผลและรายงานผลการจัดการศึกษาให้ตอบสนองนโยบายเป้าหมายทิศทางตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของจังหวัด 6.9 สร้างมาตรการเชิงป้องกันการปฏิบัติราชการของหน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษาเพื่อป้องกันการทุจริต คอรัปชั่นและตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ 1. จัดการศึกษาได้ทุกระดับอย่างมีคุณภาพที่สอดคล้องเหมาะสมกับการเสริมสร้างความมั่นคง 2. พัฒนาการอาชีวศึกษาและจัดการเรียนรู้ ทักษะอาชีพในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 3. จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4. พัฒนานวัตกรรมและหลักสูตรสำหรับผู้เรียนในทุกระดับ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง 5. สถานศึกษาน้อมนำศาสตร์พระราชาและนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ การปฏิบัติที่ยั่งยืน 6. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของจังหวัดฉะเชิงเทรา 7. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษา 8. การบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ 1. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีสมรรถนะเป็นที่พอใจของสถานประกอบการเพิ่มขึ้น 2. มีฐานข้อมูลด้านการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผน การบริหารจัดการการศึกษา การติดตามและประเมินผล 3. มีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาที่ทันสมัย สนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ 4. มีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาที่ทันสมัย สนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ 5. ร้อยละของจำนวนโรงเรียนที่ใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพิ่มขึ้น |